สุนทรพจน์สุนทรภู่
แม้ยุคสมัยของสุนทรภู่จะล่วงเลยมาแล้วกว่า ๒๐๐ ปี
วัฒนธรรมทางสังคมของไทยได้เปลี่ยนแปลงไปทั้งที่อยู่อาศัย การแต่งกาย การพูด
การเขียน การทำมาหากิน แต่บทกลอนของกวีเอก สุนทรภู่
ยังคงงามพร้อมลีลาเลิศด้วยสาระ ไพเราะเพราะพริ้งแพรวพราวด้วยเสียงสัมผัส
ทั้งสัมผัสนอกสัมผัสใน จนเป็นแบบฉบับมาถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะบทกลอนสุภาษิต
และปรัชญาชีวิต ซึ่งผู้เขียนขอเรียกเพื่อคารวะและสดุดีเกียรติคุณว่า สุนทรพจน์สุนทรภู่
ยังคงติดปาก ติดใจชาวไทยไปตราบนานเท่านาน ดังต่อไปนี้
สุนทรพจน์สุนทรภู่ว่าด้วยการพูด
“เป็นมนุษย์สุดนิยมเพียงลมปาก จะให้ยากโหยหิวเพราะชิวหา
แม้นพูดดีมีคนเขาเมตตา จะพูดจาจงพิเคราะห์ให้เหมาะความ”
(สุภาษิตสอนหญิง)
“ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา”
(นิราศภูเขาทอง)
“อันมนุษย์สุดจะเชื่อมันเหลือปด พูดสบถแล้วสะบัดไม่ขัดสน
เพราะแต่คำน้ำจิตคิดประจญ ปากเป็นผลใจเป็นพาลเหมือนมารยา
ใครหลงลิ้นกินลูกยอก็พอม้วย ต้องตายด้วยปากมนุษย์ที่มุสา
คนทุกวันมันไม่เชื่อถือสัจจา สู้สัตว์ป่าก็ไม่ได้ใจลำพอง”
คนทุกวันมันไม่เชื่อถือสัจจา สู้สัตว์ป่าก็ไม่ได้ใจลำพอง”
(โคบุตร)
“อันคำคนลมบุรุษนั้นสุดกล้า เขาย่อมว่ารสลิ้นนี้กินหวาน
จงระวังตั้งมั่นในสันดาน อย่าลนลานหลงระเลิงด้วยเชิงชาย”
(สุภาษิตสอนหญิง)
“อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย
แม้นเจ็บอื่นหมื่นแสนจะแคลนตาย เจ็บจนตายนั้นเพราะเหน็บไม่เจ็บใจ”
(เพลงยาวถวายโอวาท)
สุนทรพจน์สุนทรภู่ว่าด้วยจิตใจมนุษย์
“โอ้สามัญผันแปรไม่แท้เที่ยง เหมือนอย่างเยี่ยงชายหญิงทิ้งวิสัย
นี่หรือจิตคิดหมายมีหลายใจ ที่จิตใจจะเป็นหนึ่งอย่าพึงคิด”
(นิราศภูเขาทอง)
(นิราศภูเขาทอง)
“อันน้ำใจในคนเหมือนต้นอ้อย ข้างปลายกร่อยชืดชิมไม่อิ่มหนำ
ต้องหับหีบหนีบแตกให้แหลกลำ นั่นแหละน้ำจึงจะหวานเพราะจานเจือ”
(นิราศพระประธม)
(นิราศพระประธม)
“โอ้กระแสแควเดียวทีเดียวหนอ มาเกิดก่อเกาะถนัดสกัดหน้า
ต้องแยกคลองออกเป็นสองทางคงคา นี่หรือตนจะมิน่าเป็นสองใจ”
(นิราศพระบาท)
(นิราศพระบาท)
“ถึงบางพรมพรหมมีอยู่สี่พักตร์ คนรู้จักแจ้งจิตทิศทุกทิศา
ทุกวันนี้มีมนุษย์อยุธยา เป็นร้อยหน้าพันหน้ายิ่งกว่าพรหม”
(นิราศวัดเจ้าฟ้า)
(นิราศวัดเจ้าฟ้า)
“ถึงบางเดื่อโอ้มะเดื่อเหลือประหลาด บังเกิดชาติแมลงหวี่มีในไส้
เหมือนคนพาลหวานนอกย่อมขมใน อุปไมยเหมือนมะเดื่อเหลือระอา”
(นิราศภูเขาทอง)
(นิราศภูเขาทอง)
“อารมณ์นางเหมือนน้ำค้างที่ร่มพฤกษ์ เมื่อยามดึกดั่งจะรองไว้ดื่มได้
พอรุ่งแสงสุริฉายก็หายไป มาเห็นใจเสียเมื่อใจจะขาดรอน”
(จันทโครบ)
(จันทโครบ)
“ใครเกิดมาถ้าจิตนั้นติปราชญ์ ย่อมหมายมาตรขันตีเป็นที่ตั้ง
เหมือนเขาสุเมรุมาศไม่พราดพลั้ง ใครชิงชังเหมือนหนึ่งว่าพายุพาน
ถึงแสนลงที่จะหมายทำลายโลก ไม่คลอนโยกหนักแน่นเป็นแก่นสาร
ใครเกิดจิตอิจฉาเป็นสามาญ สันดานพาลผู้ใดทำกรรมอนันต์ ”
(โคบุตร)
(โคบุตร)
“กระทั่งถึงบางขนุนให้ขุ่นจิต นั่งพินิจนึกใจน้ำใจถวิล
เห็นขนุนหนามหนาไม่น่ากิน แต่รสกลิ่นภายในชอบใจคน
เหมือนรูปชั่วตัวดีเจ้าพี่เอ๋ย ไม่เลือกเลยสุดแท้แต่กุศล
ที่รูปดีใจชั่วตัวซุกซน ไม่เป็นผลคบยากลำบากใจ”
(นิราศพระแท่นดงรัง)
(นิราศพระแท่นดงรัง)
“ถึงคลองนามสามสิบสองคดคุ้ง ชะวากวุ้งเวียนซ้ายมาฝ่ายขวา
ให้หนูน้อยคอยนับใบนาวา แต่หนึ่งมาถ้วนสามสิบสองคด
อันคดอื่นหมื่นคดกำหนดแน่น เว้นเสียแต่ใจมนุษย์สุดกำหนด
ทั้งลวงล่องอเงี้ยวทั้งเลี้ยวคด ถึงคลองคดก็ยังไม่เหมือนใจคน”
(นิราศเมืองเพชร)
สุนทรพจน์สุนทรภู่ว่าด้วยความเพียร
(นิราศเมืองเพชร)
สุนทรพจน์สุนทรภู่ว่าด้วยความเพียร
“อันความคิดวิทยาเหมือนอาวุธ ประเสริฐสุดซ่อนใส่เสียในฝัก
สงวนคมสมนึกใครฮึกฮัก จึงค่อยชักเชือดฟันให้บรรลัย
จับให้มั่นคั้นหมายให้วายวอด ช่วยให้รอดรักให้ชิดพิสมัย
ตัดให้ขาดปรารถนาหาสิ่งใด เพียรจนได้ดังประสงค์ที่ตรงดี”
(เพลงยาวถวายโอวาท)
(เพลงยาวถวายโอวาท)
“คำโบราณท่านเปรียบประเทียบว่า อยู่ใต้ฟ้าแล้วตัวอย่ากลัวฝน
ถึงรกแตกแยกยับไม่อับจน ทรงช้างต้นตัดทางไปกลางไพร”
(สิงหไกรภพ)
(สิงหไกรภพ)
“อย่าคิดเลยคู่เชยคงหาได้ อุตส่าห์ทำลำไพ่เก็บประสม
อย่าเกียจคร้านการสตรีจงนิยม จะอุดมสินทรัพย์ไม่อับจน
ถ้าแม้นทำสิ่งใดให้ตลอด อย่าทิ้งทอดเที่ยวไปไม่เป็นผล
เขม้นขะมักรักงานการของตน อย่าซุกซนคบเพื่อนไพล่เชือนแช”
(สุภาษิตสอนหญิง)
(สุภาษิตสอนหญิง)
“ถึงชนกชนนีจะมิว่า เห็นแก่หน้าน้องรักอย่าหักหาญ
คำผู้ใหญ่ย่อมว่าช้าเป็นการ ยิ่งเนินนานก็ยิ่งเห็นจะเป็นคุณ”
(พระอภัยมณี)
(พระอภัยมณี)
สุนทรพจน์สุนทรภู่ว่าด้วยความไม่ประมาท
“เจ้าของตาลรักหวานขึ้นปีนต้น ระวังตนตีนมือระมัดมั่น
เหมือนคบคนคำหวานรำคาญครัน อย่าพลั้งพลันเจ็บอกเหมือนตกตาล”
(นิราศพระบาท)
(นิราศพระบาท)
“โบราณว่าสี่เท้ายังก้าวพลาด เป็นนักปราชญ์แล้วก็ยังรู้พลั้งผิด
อันทำศึกเหมือนสู้กับงูพิษ จงทรงคิดใครครวญให้ควรการ”
(พระอภัยมณี)
(พระอภัยมณี)
“ประเวณีตีงูให้หลังหัก มันก็มักทำร้ายเมื่อภายหลัง
จระเข้ใหญ่ไปถึงน้ำมีกำลัง เหมือนเสือขังเข้าถึงดงก็คงร้าย
อันแม่ทัพจับได้แล้วไม่ฆ่า ไปข้างหน้าศึกจะใหญ่ขึ้นใจหาย
ต้องตำรับจำให้มั่นคั้นให้ตาย จะทำภายหลังยากลำบากครัน”
(พระอภัยมณี)
“อนึ่งการโลกีย์ทั้งสี่ข้อ ประโลมล่อสามัญให้ผันผวน
คือหลงรักนารีมีกระบวน กับหลงชวนเชยชื่นที่รูปงาม
ทั้งเสภาดนตรีทั้งสี่สิ่ง ใครรักนักมักกลิ่งลงกลางสนาม
หนึ่งอุบายหลายเล่ห์ในสงคราม อย่าหมิ่นความควรระมัดระวังองค์”
(จันทโครบ)
(จันทโครบ)
สุนทรพจน์สุนทรภู่ด้วยความไม่เที่ยง
“แต่เดี๋ยวนี้ที่วังก็รั้งร้าง เป็นรอยทางทุบปราบราบรุกขา
ยังแลเลี่ยนเตียนดีที่พลับพลา นึกระอาอนิจจังไม่ยั่งยืน
เดิมเป็นป่ามาเป็นวังตั้งประทับ แล้วก็กลับไปเป็นป่าไม่ฝ่าฝืน
เหมือนมียศลดลงไม่คงคืน นึกสะอื้นอายใจมาในเรือ”
(นิราศเมืองเพชร)
(นิราศเมืองเพชร)
“ทั้งองค์ฐานรานร้าวถึงเก้าแฉก เผยอแยกยอดซุดก็หลุดหัก
โอ้เจดีย์ที่สร้างยังร้างรัก เสียดายนักนึกน่าน้ำตากระเด็น
กระนี้หรือชื่อเสียงเกียรติยศ จะมิหมดล้วงหน้าทันตาเห็น
เป็นผู้ดีมีมากแล้วยากเย็น คิดก็เป็นอนิจจังเสียทั้งนั้น”
(นิราศภูเขาทอง)
(นิราศภูเขาทอง)
“โอ้พระจอมภูวนาถสวาทน้อง จึงตรึกตรองครั้งนี้เป็นที่สุด
แต่ช้างสารมีงาเป็นอาวุธ ยังม้วยมุดลงด้วยฝูงแมงหวี่ตอม”
(ลักษณวงศ์)
(ลักษณวงศ์)
สุนทรพจน์สุนทรภู่ว่าด้วยความรัก
“ไม่เมาเหล้าแล้วแต่ยังเมารัก สุดจะหักห้ามจิตคิดไฉน
ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไป แต่เมาใจนี้ประจำทุกค่ำคืน”
(นิราศภูเขาทอง)
(นิราศภูเขาทอง)
“เห็นโศกใหญ่ใกล้น้ำระกำแฝง ทั้งรักแซงแซมสวาทประหลาดเหลือ
เหมือนโศกพี่ที่ระกำก็ซ้ำเจือ เพราะรักเรื้อแรมสวาทมาคลาดคลาย”
(นิราศภูเขาทอง)
(นิราศภูเขาทอง)
“เห็นสวาทขาดทิ้งกิ่งสนัด เป็นร้อยตัดต้นสวาทให้ขาดสาด
สวาทพี่นี้ก็ขาดสวาทวาย แสนเสียดายสายสวาทที่ขาดลอย”
(นิราศวัดเจ้าฟ้า)
(นิราศวัดเจ้าฟ้า)
“ถึงเกาะเรียนเรียนรักก็หนักอก แสนวิตกเต็มตรองเจียวน้องเอ๋ย
เมื่อเรียนกันจนจบถึงกบเกย ไม่ยากเลยเรียนได้อย่างใจจง
แต่เรียนรักรักนักก็มักหน่าย รักละม้ายมิได้ชมสมประสงค์
ยิ่งรักมากพากเพียรยิ่งเวียนวง มีแต่หลงลมลวงน่าทรวงโทรม”
(นิราศวัดเจ้าฟ้า)
(นิราศวัดเจ้าฟ้า)
“ถึงสวนหลวงหวงห้ามเหมือนความรัก เหลือจะหักจับต้องเป็นของหลวง
แต่โรยรินกลิ่นผกาบุปผาพวง จะรื่นร่วงเรณูฟูขจร”
(นิราศพระประธม)
(นิราศพระประธม)
“โอ้หนาวอื่นพอจะขืนอารมณ์ได้ แต่หนาวใจยากแค้นนี้แสนเข็ญ
ทั้งหนาวนอนไกลนุชสุดจะเย็น ใครจะเป็นเหมือนหนึ่งข้าว่าจะจริง”
(นิราศพระบาท)
(นิราศพระบาท)
“อันความรักมักเสียความรู้สิ้น ใครดูหมิ่นมักม้วยลงเป็นผี
นั่นแหละหลานการกลในโลกีย์ คือดนตรีรูปรสสุคนธา
อันโลกีย์นี้หลานประมาณสาม คือรสกามรสกลิ่นรสภักษา
ยังไม่หวานปานรสวาจา เป็นชายอย่าหมิ่นชายระคายแคลง”
(ลักษณวงศ์)
(ลักษณวงศ์)
“อันเมารักมักหลงพะวงรัก ใครจะชักฉุดไว้ก็ไม่ไหว
กำลังมืดเมามัวไม่กลัวใคร คงจะไปหารักที่พักพิง
อันทุกข์โศกโรคร้อนนอนไม่หลับ เกิดสำหรับร่างกายทั้งชายหญิง
ด้วยรักกันฝั่นเฝือเหลือประวิง อนาถนิ่งนอนนึกระลึกกัน”
(นิราศพระแท่นดงรัง)
(นิราศพระแท่นดงรัง)
“แมลงภู่เป็นคู่ของบุปผา บุราณว่าเห็นจริงทุกสิ่งสม
หญิงกับชายก็เป็นคู่ชู้อารมณ์ ชั่วปฐมกัปกัลป์พุทธันดร
ใครมีคู่พลัดคู่ไม่มีสุข มักเกิดทุกข์ใหญ่ยิ่งกว่าสิ่งของ
เหมือนตัวเรียมร่ำรักหนักอุทร ด้วยจากจรมิไดอยู่เป็นคู่เชย”
(นิราศพระแท่นดงรัง)
(นิราศพระแท่นดงรัง)
“อันที่จริงหญิงกับชายย่อมหมายรัก มิใช่จักตัดทางที่สร้างสม
แม้นจักรักรักไว้ในอารมณ์ อย่ารักชมนอกหน้าเป็นราคี
ดังพฤกษาต้องวายุพัดโบก เขยื้อนโยกก็แต่กิ่งไม่ทิ้งที่
จงยับยั้งชั่งใจเสียให้ดี เหมือนจามจุรีรู้จักรักษากาย”
(สุภาษิตสอนหญิง)
(สุภาษิตสอนหญิง)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น