กำเนิดโนรา “โนรา” หรือ “ มโนราห์ ” เป็นคำที่ชาวไทยภาคใต้ เรียกขาน
ชื่อ ศิลปะกการแสดงชั้นสูงของภาคใต้ แขนงหนึ่ง โนรา มีหลากหลายตำนานที่ได้เล่าต่อกันมา มีส่วนคล้ายคลึงกัน และแตกต่างกันออกไป บิดาของผู้เขียน (โนราเผิน จันทภาโส) และผู้รู้หลายท่านได้กล่าวไว้ว่า โนรา เริ่มต้นที่เมืองพัทลุง โดยกล่าวถึงประวัติศาสตร์ในสมัยกรุงธนบุรี มีการแสดงโนราครั้งแรก เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงยกกองทัพมาปราบชุมนุมเจ้านครในพุทธศักราช ๒๓๑๒ โดยโนราที่รำให้ชาวเมืองหลวงได้ชื่นชมเป็นโนราบ้านบางแก้วเมืองพัทลุง ต่อมาให้สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ.๒๓๗๕ (สมัยรัชกาที่๓)เจ้าพระยาพระคลัง (สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ ดิศ บุนนาค) กรีธาทัพมาปราบหัวเมืองภาคใต้ ในครั้งนั้นเกิดข้าวยากหมากแพง จึงมีพวกพัทลุงและนครศรีธรรมราช ติดตามกองทัพเข้าไปในเมืองหลวงด้วย ระหว่างการเดินทาง ชาวพัทลุงจึงได้รำโนราเป็นที่พึงพอใจแก่คนชาวเมืองหลวงเป็นอย่างยิ่ง หลังจากนั้นโนราก็เผยแพร่ไปทั่วและมีตำนานเล่าขานกันดังต่อไปนี้
เมืองพัทลุง (ตำนานเดิมแถบอำเภอบางแก้ว) บิดาของผู้เขียน มีกษัตริย์ผู้ครองเมืองชื่อ “พระยาสายฟ้าฟาด” มีองค์มเหสีชื่อ “ศรีมาลา” มีโอรสธิดาด้วยกัน ๒ พระองค์ คือ “ท้าวเทพสิหร” และ “พระธิดานวลทองสำลี” ครั้นเมื่อทั้ง ๒ พระองค์มีพระชนมายุสมควรแก่การศึกษาเล่าเรียนแล้ว พระบิดาจึงจ้างพาราชครู ๕ ท่าน ได้แก่ หลวงนายเสน นายทองกัน หลวงนายคมผมหอม หลวงนายชม และนายจิตร มาสอนศิลปะแขนงต่างๆ ให้แก่พระโอรส ธิดา และบรรดาบ่าวไพร่หนุ่มสาวชายหญิง ราชครูทั้ง ๕ สอนวิชาใดบ้างไม่ปรากฏชัดเจน แต่กล่าวกันว่า นับแต่บัดนั้น ในพระราชวังก็ครึกครื้นไปด้วยการละเล่นต่างๆ เป็นนิจ
ณ ราตรีหนึ่ง พระธิดานวลทองสำลี ทรงฝันไปว่า ได้มีหมู่มวลเทพยดาและนางอัปสร มารายรำให้นางดู ครั่นนางตื่นบรรทมก็จำท่ารำนั้นได้เป็นแม่นมั่นและฝึกฝนหัดรำจนชำนาญ พร้อมทั้งฝึกหัดนางกำนัลบ่าวไพร่ให้รำเป็น ในพระราชวังครึกครื้นจนเกินขอบเขตจนทำให้พระราชาสายฟ้าฟาด ไม่พอพระทัย ในขณะเดียวกันพระธิดานวลทองสำลีทรงตั้งครรภ์ขึ้น ว่ากันว่าท้าวเทพสิงหรเป็นผู้ทำให้นางตั้งครรภ์ บางตำราว่า เทพยดาจุติลงมาปฏิสนธิในครรภ์ อีกตำราหนึ่งว่า นางเสวยเกสรบัวจึงตั้งครรภ์ พระบิดาเกรงว่าจะเป็นที่อับอายแก่ชาวเมือง จึงตรัสให้นางไปลอยแพ และสั่งให้ถ่วงน้ำประหารชีวิตราชครูทั้ง ๕
ครั่นเมื่อถูกลอยแพ เทพยดาบันดาลให้เกิดพายุพัดแพลอยไปติดอยู่ที่เกาะกระชังกลางทะเลสาบสงขลา นิรมิตศาลาให้นางอาศัย เมื่อครบถ้วนทศมาส นางก็ประสูติกุมารตั้งชื่อว่า “ทองอู่” หรือ “เพรากุมาร” เทพยดาได้มาชุบพี่เลี้ยงและนางนมให้เพ่อบำรุงรักษาพระกุมารนั้นอีกด้วย
วันหนึ่งพระกุมารทองอู่พร้อมนางนมและพี่เลี้ยง เสด็จประภาสป่าพบสระน้ำทันใดนั้นเองมี กินนร กินรี ๕๐๐ ตัว เล่นน้ำและร่ายรำอยู่ พระกุมารชื่นชอบเป็นยิ่งนัก จึงจำท่ารำของเหล่ากินนร กินรี มาฝึกหัดรำจนชำนาญ ครั้นต่อมาเทพยดาได้เอาก้อนศิลาก้อนหนึ่งชุบให้เป็น “พรานบุญ” ให้เป็นเพื่อนเล่นพระกุมาร ในเวลาต่อมาทั้งสองได้พากันไปเที่ยวในป่าแล้วหลับไปใต้ต้นรัง ฝันไปว่าเทพยดาได้เข้าฝันและประทานท่ารำ ๑๒ ท่า ซึ่งทั้งพระกุมารและพรานบุญจำได้เป็นแม่นมั่น ๑๒ ท่า ได้แก่ ท่าแท่ลาย ท่าเขาควาย ราหูจับจันทร์ ท่ากินนร ท่าจับระบำ ท่าลงฉาก ท่าฉากน้อย ช้างประสานงา ท่าบัวตูม ท่าบัวบาน ท่าบัวคลี่ ท่าบัวแย้ม ท่าแมงมุมชักใย และท่าผาหลา ซึ่งท่าทั้ง ๑๒ ท่าดังกล่าวเป็นท่าแบบฉบับของโนรามาจนทุกวันนี้ ต่อจากนั้นก็นิมิต “ทับ” ให้สองใบชื่อ “น้ำตาตก” และ “นกเขาขัน” และประทานกลองชื่อ “เภรีสุวรรณโลก” ให้ไว้ใช้เป็นเครื่องดนตรี (ภายหลังจึงมี กรับ ฉิ่ง โหม่ง และปี่ด้วย) หลังจากนั้นพระโอรสทองอู่ พรานบุญ และนางกำนัล ก็ได้ฝึกฝนหัดรำจนชำนาญ กอรปกับได้ฝึกท่ารำจากนางนวลทองสำลีพระมารดา และได้ทำการแสดงไปทั่วอาณาบริเวณ ทำให้กิตติศัพท์ของพระโอรสทองอู่ ได้ยินไปถึงเบื้องพระเนตรพระกันฐ์ของพระยาสายฟ้าฟาดผู้เป็นอัยกา (ตา) จึงรับสั่งให้มารำถวายในพระราชวัง ครั่นพอพบประสบพักตร์สืบถามความดูรู้ว่าเป็นนัดดา (หลาน) ทรงปลาบปลื้มพระหฤทัยเป็นยิ่งนัก จึงทรงโปรดให้ทหารไปรับพระนัดดานวลทองสำลี ท้าวเทพสิงหร เข้ากลับมายังพระราชวัง และทรงทำนุบำรุงส่งเสริม การร่ายรำซึ่งต่อมาภายหลังเรียกว่า “โนรา” เป็นขนานใหญ่ มีการมอบเครื่องทรงอย่างกษัตริย์ ประกอบด้วยเทริด ผ้าห้อยหน้า เจียระบาด สร้อยตาบ หางหงส์ กำไลมือเท้าทำจากเงิน เล็บยาวทำด้วยเงิน ฯลฯ ให้เป็นเครื่องทรงโนรา ทั้งยังพระราชทานนามเลื่อนยศพระโอรสทองอู่เป็น “ขุนศรีศรัทธา” ผู้เป็นครูต้น ครูหมอโนรา ซึ่งกราบไหว้นับถือบูชามาจนถึงกาลปัจจุบัน
เมืองพัทลุง (ตำนานเดิมแถบอำเภอบางแก้ว) บิดาของผู้เขียน มีกษัตริย์ผู้ครองเมืองชื่อ “พระยาสายฟ้าฟาด” มีองค์มเหสีชื่อ “ศรีมาลา” มีโอรสธิดาด้วยกัน ๒ พระองค์ คือ “ท้าวเทพสิหร” และ “พระธิดานวลทองสำลี” ครั้นเมื่อทั้ง ๒ พระองค์มีพระชนมายุสมควรแก่การศึกษาเล่าเรียนแล้ว พระบิดาจึงจ้างพาราชครู ๕ ท่าน ได้แก่ หลวงนายเสน นายทองกัน หลวงนายคมผมหอม หลวงนายชม และนายจิตร มาสอนศิลปะแขนงต่างๆ ให้แก่พระโอรส ธิดา และบรรดาบ่าวไพร่หนุ่มสาวชายหญิง ราชครูทั้ง ๕ สอนวิชาใดบ้างไม่ปรากฏชัดเจน แต่กล่าวกันว่า นับแต่บัดนั้น ในพระราชวังก็ครึกครื้นไปด้วยการละเล่นต่างๆ เป็นนิจ
ครั่นเมื่อถูกลอยแพ เทพยดาบันดาลให้เกิดพายุพัดแพลอยไปติดอยู่ที่เกาะกระชังกลางทะเลสาบสงขลา นิรมิตศาลาให้นางอาศัย เมื่อครบถ้วนทศมาส นางก็ประสูติกุมารตั้งชื่อว่า “ทองอู่” หรือ “เพรากุมาร” เทพยดาได้มาชุบพี่เลี้ยงและนางนมให้เพ่อบำรุงรักษาพระกุมารนั้นอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น